ท่านที่มีเครื่องอัดฟางก้อน Massey Ferguson ที่แก่ชรา สภาพไม่น่าไว้วางใจ ต้องการซ่อมแซมให้ใช้การได้ดีดังเดิม เราสามารถเดินทางไปซ่อมให้ท่านได้ทั่วทุกแห่ง ทั่วพระราชอาณาจักร ราคาเป็นกันเองขอรับกระผม
ติดต่อที่
มิตร ขุนศรี
193/1 หมู่ 2 ต.หัวดง
อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์
60230
โทรบ้าน 056-299-427
มือถือ 089-799-5395
Email Address: thongbai_thira@yahoo.com
รับจ้างอัดฟางก้อน และจำหน่ายเครื่องอัดฟางก้อนมือสองจากยุโรป We SELL USED SQUARE-BALER imported from Europe:Massey Ferguson,Jones
Tuesday, December 29, 2009
Thursday, December 24, 2009
เครื่งอัดฟางก้อนMassey Ferguson ขณะทำงาน โดยมีรถไถคูโบต้าลากจูง
การอัดฟางก้อนครั้งนี้ทำในที่นาซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอำเภอเก้าเลี้ยง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้จ้างให้มาอัดเป็นเจ้าของกิจการเป็ดไล่ทุ่ง เขาจะนำฟางอัดก้อนไปใช้ปูพื้นดินเป็นที่รองนอนของลูกเป็ดที่ฟักเป็นตัวใหม่ๆ ซึ่งแต่เดิมเคยใช้แกลบเป็นที่รองนอนของลูกเป็ดแต่ปัจจุบันแกลบตามโรงสีมีราคาแพงมาก เจ้าของเป็ดไล่ทุ่งทั้งหลายจึงหันมาใช้ฟางอัดก้อนแทน
Saturday, December 12, 2009
ขั้นตอนการใช้ฟางและวัสดุอย่างอื่นทำกระดาษด้วยมือแบบพื้นบ้าน
วัสดุที่ใช้ในการทำกระดาษ คือฟางข้าว ใบและกาบกล้วย ใบสับปะรด ผักตบชวา ปอสา ขั้นตอนมีดังนี้
-การเตรียมวัตถุดิบ
-การล้างเยื่อ
-การฟอกเยื่อ
-การกระจายเยื่อ
-การทำแผ่นกระดาษ
ดูรายละเอียดได้ที่นี่
-การเตรียมวัตถุดิบ
-การล้างเยื่อ
-การฟอกเยื่อ
-การกระจายเยื่อ
-การทำแผ่นกระดาษ
ดูรายละเอียดได้ที่นี่
การใช้ฟางข้าวทำเยื่อกระดาษ
จากผลงานการวิจัยในวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเตรียมเยื่อกระดาษจากฟางข้าวภายใต้สภาวะกรด” โดย สรียา ศรวิบูลย์ศักดิ์ และ ชญานิษฐ์ คำมัญ แห่งภาควิชาเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ศึกษาถึงการใช้ฟางข้าวมาทำเยื่อกระดาษ ซึ่งในบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์ดังกล่าวมีความว่า
ปัจจุบันยอดการใช้กระดาษทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้น การขยายตัวของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการมีข้อจำกัดในเรื่องของเนื้อที่ป่าไม้ รวมถึงการขาดแคลนเยื่อบางประเภทของประเทศต่างๆ ทำให้การหาแหล่งเยื่อชนิดใหม่เพื่อนำมาใช้ในการผลิตกระดาษเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในกรณีของประเทศไทยนั้น ข้าว (Rice) จัดเป็นพืชเศรษฐกิจหลักซึ่งมีผลพลอยได้ที่เหลือใช้ สามารถจัดเป็นทางเลือกแหล่งเยื่อชนิดใหม่ได้เช่นกัน งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษา การเตรียมเยื่อกระดาษ จากฟางข้าวภายใต้สภาวะกรด การทดลองนี้เริ่มจากการนำฟางข้าวมาต้มโดยทำการต้มเยื่อแบบ acid pulping ในสารละลายของกรดฟอร์มิก (formic acid) , กรดอะซิติก (acetic acid) และ น้ำ ในอัตราส่วนต่างๆ กัน ที่อุณหภูมิ 100-110 ๐C โดยวิธีการต้มเยื่อ จะทำการศึกษา 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 จะทำการต้มเยื่อ กับปั่นเยื่อไปพร้อมๆ กัน เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และ วิธีที่ 2 จะต้มเยื่อ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำมาตีเยื่อในน้ำ เป็นเวลา 30 นาที โดยที่ กรดฟอร์มิกจะเข้าไป จะไปทำปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อทำการแยกลิกนินออก ปริมาณ กรดฟอร์มิก ที่ใช้ในแต่ละภาวะคือ 0% , 10% , 20% และ 30% ของน้ำหนักของสารเคมีที่ใช้ในการต้มเยื่อ โดยปริมาณของสารเคมีที่ใช้ในการต้มเยื่อต่อน้ำหนักฟางข้าวแห้ง คือ 12 : 1 หลังจากฟางข้าวผ่านกระบวนการต้มเยื่อแล้ว จะนำเยื่อที่ได้ไปทดสอบหา ปริมาณลิกนินที่เหลืออยู่ โดยวัดในเทอมของเลขแคปปา และสภาพระบายได้ของเยื่อ (Freeness) เยื่อที่ได้บางส่วนจะถูกสุ่มขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาลักษณะของเส้นใย และ เยื่ออีกส่วนหนึ่งจะนำไปทำแผ่นทดสอบ (Handsheets) เพื่อทดสอบสมบัติความแข็งแรงและสมบัติเชิงแสง (Strength and optical properties) ซึ่งจากการทดลองพบว่าปริมาณของ กรดฟอร์มิก ที่ใช้มีผลต่อปริมาณลิกนินที่เหลืออยู่ในเยื่อ อย่างไรก็ดีอิทธิพลของปริมาณ กรดฟอร์มิก ที่ใช้ สามารถเห็นได้ชัดเจนขึ้น ในการศึกษาด้านความขาวสว่าง และ ความแข็งแรงของเยื่อ ซึ่งพบว่าค่าความขาวสว่าง, ดัชนีความต้านทานแรงดึง, ดัชนีความต้านทานแรงดันทะลุ และดัชนีความต้านทานแรงฉีกขาด จะเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของ กรดฟอร์มิก เพิ่มขึ้น
แหล่งข้อมูล ดูที่นี่
ปัจจุบันยอดการใช้กระดาษทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้น การขยายตัวของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการมีข้อจำกัดในเรื่องของเนื้อที่ป่าไม้ รวมถึงการขาดแคลนเยื่อบางประเภทของประเทศต่างๆ ทำให้การหาแหล่งเยื่อชนิดใหม่เพื่อนำมาใช้ในการผลิตกระดาษเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในกรณีของประเทศไทยนั้น ข้าว (Rice) จัดเป็นพืชเศรษฐกิจหลักซึ่งมีผลพลอยได้ที่เหลือใช้ สามารถจัดเป็นทางเลือกแหล่งเยื่อชนิดใหม่ได้เช่นกัน งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษา การเตรียมเยื่อกระดาษ จากฟางข้าวภายใต้สภาวะกรด การทดลองนี้เริ่มจากการนำฟางข้าวมาต้มโดยทำการต้มเยื่อแบบ acid pulping ในสารละลายของกรดฟอร์มิก (formic acid) , กรดอะซิติก (acetic acid) และ น้ำ ในอัตราส่วนต่างๆ กัน ที่อุณหภูมิ 100-110 ๐C โดยวิธีการต้มเยื่อ จะทำการศึกษา 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 จะทำการต้มเยื่อ กับปั่นเยื่อไปพร้อมๆ กัน เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และ วิธีที่ 2 จะต้มเยื่อ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำมาตีเยื่อในน้ำ เป็นเวลา 30 นาที โดยที่ กรดฟอร์มิกจะเข้าไป จะไปทำปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อทำการแยกลิกนินออก ปริมาณ กรดฟอร์มิก ที่ใช้ในแต่ละภาวะคือ 0% , 10% , 20% และ 30% ของน้ำหนักของสารเคมีที่ใช้ในการต้มเยื่อ โดยปริมาณของสารเคมีที่ใช้ในการต้มเยื่อต่อน้ำหนักฟางข้าวแห้ง คือ 12 : 1 หลังจากฟางข้าวผ่านกระบวนการต้มเยื่อแล้ว จะนำเยื่อที่ได้ไปทดสอบหา ปริมาณลิกนินที่เหลืออยู่ โดยวัดในเทอมของเลขแคปปา และสภาพระบายได้ของเยื่อ (Freeness) เยื่อที่ได้บางส่วนจะถูกสุ่มขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาลักษณะของเส้นใย และ เยื่ออีกส่วนหนึ่งจะนำไปทำแผ่นทดสอบ (Handsheets) เพื่อทดสอบสมบัติความแข็งแรงและสมบัติเชิงแสง (Strength and optical properties) ซึ่งจากการทดลองพบว่าปริมาณของ กรดฟอร์มิก ที่ใช้มีผลต่อปริมาณลิกนินที่เหลืออยู่ในเยื่อ อย่างไรก็ดีอิทธิพลของปริมาณ กรดฟอร์มิก ที่ใช้ สามารถเห็นได้ชัดเจนขึ้น ในการศึกษาด้านความขาวสว่าง และ ความแข็งแรงของเยื่อ ซึ่งพบว่าค่าความขาวสว่าง, ดัชนีความต้านทานแรงดึง, ดัชนีความต้านทานแรงดันทะลุ และดัชนีความต้านทานแรงฉีกขาด จะเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของ กรดฟอร์มิก เพิ่มขึ้น
แหล่งข้อมูล ดูที่นี่
Thursday, December 10, 2009
ฟางอัดก้อนกับแปลงปลูกผักสวนครัว
ยายเคียบ ขุนศรี อายุ 72 ปี ชาวบ้านธารามะกอก ต.หัวดง อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ แกมีลูกชายทำธุรกิจอัดฟางก้อน ทั้งอัดฟางก้อนและขายเครื่องอัดฟางก้อนมือสอง แกเลยลองใช้ฟางก้อนของลูกชายมาทำสวนครัวโดยแกเน้นปลูกผักปลอดสารพิษตามยุคโลกาภิวัตน์และยุคเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ปรากฏว่าผักปลอดสารพิษของแกดังระเบิดเป็นที่นิยมของพวกแม่ค้าขายผักในย่านตลาดหัวดง ซึ่งแต่เดิมแกจะเอาผักปลอดสารพิษของแกบรรทุกจักรยานยี่ห้อคนจนไปขายส่งให้แก่แม่ค้าในตลาด แต่เดี๋ยวนี้ผักของแกติดตลาดเป็นที่นิยมบริโภคของมวลมหาประชาชนของตำบลหัวดงและตำบลใกล้เคียงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะฉุดเท่าไรก็ไม่ยอมลง แกเลยไม่ต้องขี่จักรยานยี่ห้อคนจนบรรทุกผักปลอดสารพิษไปขายอีกแล้ว เพราะพวกแม้ค้าผักในตลาดต่างยอมเหนื่อยแทนแกโดยขี่รถเครื่องมาสั่งออร์เดอร์สินค้าของแกถึงแปลงสวนครัววันละหลายครั้งเลยทีเดียว และเนื่องจากสวนครัวของแกมีทำเลฮวงจุ้ยดีอยู่ติดถนนใกล้ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง เมื่อมวลมหาประชาชนเดินผ่านไปผ่านมาเพื่อติดต่อราชการที่สำนักงาน อบต.หัวดง เห็นแปลงผักของแกซึ่งมีเอกลักษณ์พิเศษไม่เหมือนแปลงผักของบ้านอื่น คือมีกองฟางอัดก้อนกองอยู่เป็นตับๆพร้อมใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษตามสูตรพิเศษของแกด้วย ก็เลยเกิดความประทับใจพากันแวะซื้อผักของแกติดไม้ติดกันไปเสมอๆ และแถมผักของแกก็ราคามิตรภาพไม่แพงอย่างที่คิด โดยแกขายหน้าสวนแค่กิโลกรัมละ 10 บาทเท่านั้นเอง
ผักปลอดสารพิษที่ยายเคียบปลูกไว้มีดังนี้
1. ผักกินใบกินต้น เช่น คะน้า ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ผักกาดขาว
2. ผักกินฝักกินผล เช่น พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพู
3. ผักกินหัวกินราก เช่น ผักกาดหัว กระเทียม กระชาย ขมิ้น
4. ผักกินดอก เช่น กะหล่ำดอก ดอกแค ขจร
นอกจากจะปลูกผักสวนครัวแล้ว ยายเคียบยังขยันในการเผาถ่าน และถ่านของแกขึ้นชื่อว่าเป็นถ่านดีมีคุณภาพ เป็นของแท้ไม่มีอะไรยัดไส้ แกบรรจุถุงปุ๋ยใหญ่ขาย เพียงถุงละ 100 บาทเท่านั้นเอง แกเก็บถ่านของแกเป็นอย่างดีในไซโลที่ทำขึ้นพิเศษมีปริมาณไม่อั้น
ใครสนใจผักปลอดสารพิษและถ่านไม้คุณภาพดี
หรือต้องการอุดหนุนให้กำลังใจหรือต้องการดูงานปลูกผักปลอดสารพิษและเผาถ่านคุณภาพดีของแก
ก็ติดต่อแกได้ที่
นางเคียบ ขุนศรี
193/1 หมู่ 2 ต.หัวดง
อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ 60230
โทรบ้านยายเคียบ 056-299-427
โทรลูกชายยายเคียบ 089-799-5395
ปลูกข้าวนาปรัง ไม่ควรเผาฟางข้าว
ฟางข้าวใช้เป็นพลังมวลชีวภาพได้
ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า
ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากและสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อนเพื่อการอบแห้งก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2549 ที่ผ่านมา ไทยมีวัสดุชีวมวลคงเหลือจากการใช้ในภาคการเกษตรทั้งหมด 34 ล้านตัน ในจำนวนนี้ “ฟางข้าว” คือสิ่งที่เหลือมากที่สุด 24 ล้านตัน เพราะฉะนั้นถ้ามีการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือพลังความร้อนก็จะเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากเหล่านี้ เราสามารถตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนเล็กๆ ขนาด 500 กิโลวัตต์หรือ 1 เมกกะวัตต์ กระจายไปตามจุดต่างๆ ในจังหวัดที่มีชีวมวลคงเหลือและมีศักยภาพพอ ขณะเดียวกันวัสดุชีวมวลเหล่านี้ก็สามารถนำไปผ่านกระบวนการไพโรไลซิสเพื่อกลั่นให้เป็นน้ำมันดิบ หรือที่เรียกว่า น้ำมันชีวภาพ (BIO-OIL) และนำไปกลั่นต่อยอดให้เป็นน้ำมันเบนซินหรือดีเซลได้ ซึ่งหากนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 34 ล้านตันมาแปรรูปโดยกระบวนการดังกล่าวก็จะทำให้ได้น้ำมันชีวภาพถึง 7 ล้านตันหรือประมาณ 7 พันล้านลิตรต่อปีเลยทีเดียว ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ก็ได้นำเสนอต่อคณะทำงานด้านการพลังงาน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอรัฐบาลต่อไป
แหล่งข้อมูล
ฟางข้าวกับไข่เค็ม
ฟางข้าวสามารถใช้ประโยชน์ในการทำไข่เค็มได้ ทั้งนี้เป็นผลงานการศึกษาของอาจารย์สุภกาญจน์ พรหมขันธ์ อาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตอาหาร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสกลนคร
ขั้นตอนการทำนั้นเริ่มจาก การเตรียมไข่เป็ดสดโดยนำไข่เป็ดขนาดกลางที่มีอายุการเก็บไม่เกินหนึ่งมาล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง คัดไข่ที่แตกและมีรอยร้าวออก เพื่อป้องกันไข่เน่าระหว่างการพอก จากนั้นเตรียมเยื่อฟางข้าวโดยคัดคุณภาพของฟางข้าวที่ได้จากการเก็บใหม่ๆ ที่มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 3-4 เดือน ฟางข้าวจะต้องไม่ผุ ไม่ขึ้นรา และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ นำฟางข้าวที่คัดมาตากแดดให้แห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกที่ปิดสนิท
ส่วนขั้นตอนการต้มเยื่อฟางข้าว ที่ดัดแปลงจากกรรมวิธีการผลิตกระดาษสาด้วยวิธีชาวบ้านคือ ชั่งน้ำหนักฟางข้าวแห้งเติมน้ำต่อฟางข้าวในอัตราส่วน 1:8 และหาวัสดุหนักๆ มากดทับฟางข้าว แช่ทิ้งไว้ 1 คืนนำฟางข้าวที่แช่น้ำมาต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 40 นาที ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น ร้อยละ 2 จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดจนเยื่อฟางข้าวมีความเป็นกรดด่าง ประมาณ 7-7.5 จากนั้นนำเยื่อฟางข้าวที่ได้มาอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 6-8 ชั่วโมง หรือตากแดดนาน 1 วันก็จะได้เยื่อฟางข้าวที่พร้อมใช้งานได้ตลอด
โดยสามารถเก็บในถุงพลาสติกที่ปิดสนิทเพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไปต่อมา ขั้นตอนการเตรียมเกลือโซเดียมคลอไรด์เริ่มจากนำไปอบในตู้อบอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง จนเกลือแห้ง นำไปบดแล้วร่อนผ่านตะแกรงขนาด 1 มิลลิเมตร เก็บใส่ถุงพลาสติกที่ปิดสนิท เพียงเท่านี้ก็พร้อมสำหรับการผลิตไข่เค็ม
ขั้นตอนต่อมาคือนำเยื่อฟางข้าวที่เตรียมไว้มาผสมกับน้ำ เกลือ และน้ำสมุนไพรตามต้องการ จะได้เยื่อฟางข้าวที่เปียกหลังจากนั้นก็สามารถนำไปพอกหุ้มไข่เป็ดที่เตรียมเอาไว้จากนั้นนำไข่ที่พอกเสร็จบรรจุใส่ถุงพลาสติกชนิดมีซิบเก็บไว้นาน 25 วัน ไข่เค็มสมุนไพรชนิดโซเดียมต่ำพอกด้วยเยื่อฟางข้าว
แหล่งข้อมูล
ขั้นตอนการทำนั้นเริ่มจาก การเตรียมไข่เป็ดสดโดยนำไข่เป็ดขนาดกลางที่มีอายุการเก็บไม่เกินหนึ่งมาล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง คัดไข่ที่แตกและมีรอยร้าวออก เพื่อป้องกันไข่เน่าระหว่างการพอก จากนั้นเตรียมเยื่อฟางข้าวโดยคัดคุณภาพของฟางข้าวที่ได้จากการเก็บใหม่ๆ ที่มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 3-4 เดือน ฟางข้าวจะต้องไม่ผุ ไม่ขึ้นรา และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ นำฟางข้าวที่คัดมาตากแดดให้แห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกที่ปิดสนิท
ส่วนขั้นตอนการต้มเยื่อฟางข้าว ที่ดัดแปลงจากกรรมวิธีการผลิตกระดาษสาด้วยวิธีชาวบ้านคือ ชั่งน้ำหนักฟางข้าวแห้งเติมน้ำต่อฟางข้าวในอัตราส่วน 1:8 และหาวัสดุหนักๆ มากดทับฟางข้าว แช่ทิ้งไว้ 1 คืนนำฟางข้าวที่แช่น้ำมาต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 40 นาที ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น ร้อยละ 2 จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดจนเยื่อฟางข้าวมีความเป็นกรดด่าง ประมาณ 7-7.5 จากนั้นนำเยื่อฟางข้าวที่ได้มาอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 6-8 ชั่วโมง หรือตากแดดนาน 1 วันก็จะได้เยื่อฟางข้าวที่พร้อมใช้งานได้ตลอด
โดยสามารถเก็บในถุงพลาสติกที่ปิดสนิทเพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไปต่อมา ขั้นตอนการเตรียมเกลือโซเดียมคลอไรด์เริ่มจากนำไปอบในตู้อบอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง จนเกลือแห้ง นำไปบดแล้วร่อนผ่านตะแกรงขนาด 1 มิลลิเมตร เก็บใส่ถุงพลาสติกที่ปิดสนิท เพียงเท่านี้ก็พร้อมสำหรับการผลิตไข่เค็ม
ขั้นตอนต่อมาคือนำเยื่อฟางข้าวที่เตรียมไว้มาผสมกับน้ำ เกลือ และน้ำสมุนไพรตามต้องการ จะได้เยื่อฟางข้าวที่เปียกหลังจากนั้นก็สามารถนำไปพอกหุ้มไข่เป็ดที่เตรียมเอาไว้จากนั้นนำไข่ที่พอกเสร็จบรรจุใส่ถุงพลาสติกชนิดมีซิบเก็บไว้นาน 25 วัน ไข่เค็มสมุนไพรชนิดโซเดียมต่ำพอกด้วยเยื่อฟางข้าว
แหล่งข้อมูล
ประโยชน์ของฟางข้าวในการเกษตร
1. ฟางข้าวช่วยทำให้ดินมีปริมาณของอินทรีย์วัตถุในดินมากขึ้น
2. ฟางข้าวช่วยทำให้แปลงผักที่ถูกคลุมด้วยฟางข้าวมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดินเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และไส้เดือน เป็นต้น
3. ฟางข้าวช่วยคลุมวัชพืช โดยการบังแสงแดด ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้
4. ฟางข้าวช่วยบังแสงแดด ทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นานเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ทำให้ผลผลิตสูงกว่าดินที่ไม่มีฟางข้าวปกคลุม
5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (Sio) ด้วย
2. ฟางข้าวช่วยทำให้แปลงผักที่ถูกคลุมด้วยฟางข้าวมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดินเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และไส้เดือน เป็นต้น
3. ฟางข้าวช่วยคลุมวัชพืช โดยการบังแสงแดด ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้
4. ฟางข้าวช่วยบังแสงแดด ทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นานเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ทำให้ผลผลิตสูงกว่าดินที่ไม่มีฟางข้าวปกคลุม
5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (Sio) ด้วย
Wednesday, December 9, 2009
การทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว
ผู้ทำธุรกิจอัดฟางก้อน พึงตระหนักว่า คนไทยตื่นตัวในเรื่องนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ผลิตสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มาก ในหมู่เกษตรกรไทยก็พยายามลดการใช้สารเคมีในการเกษตรกรรม แต่หันไปทำเกษตรแบบชีวภาพ(Organic Agriculture) หนึ่งในสิ่งที่เกษตรสนใจทำในขณะนี้คือการทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดที่ต้องการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนที่จะเอารัดอาเปรียบมันเหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นผู้ทำธุรกิจอัดฟางก้อนจึงมองเห็นอนาคตว่าจะไปด้วยดี
ฟางหมัก 24 ชั่วโมง
เป็นการนำฟางข้าว มาหมักก่อนจะนำมาใช้เป็นปุ๋ย คุณภาพจะดีขึ้น แต่ต้องสับหั่นให้มีขนาดเล็ก ฟางฟ่อนต้องสับให้มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หากเป็นฟางจากเครื่องสีสามารถใช้ได้เลย เพราะฟางจะนิ่ม
1.ส่วนประกอบและอุปกรณ์
ฟางข้าว 10 หน่วย/EM โบกาฉิ1/2 ส่วนตามภาชนะตวง/รำละเอียด1/2 /EM+กากน้ำตาล+น้ำ อัตราส่วน 1:1:500 ผสมน้ำแยกไว้(น้ำ 1 บัว ประมาณ 10 ลิตร กากน้ำตาล อย่างละ 20 ซีซี หรือ 2 ช้อน คนให้ละลาย)
2.วิธีการทำ
นำน้ำผสม EM กากน้ำตาลมารด ฟางข้าว คลุกให้ทั่ว ให้มีความชื้นโดยทั่ว(ระวังน้ำไหลนองพื้น)/นำโบกาฉิผสมกับรำ แล้วนำมาโรยให้ทั่วฟาง คลุกให้เข้ากัน/หมักโดยการกรองปุ๋ยเป็นฝาชีคว่ำ หรือเป้นกองยาวๆ สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบปานหรือ แสลน หรือคลุมด้วยฟางแห้ก็ได้ หมักไว้ 18 ชั่วโมงกลับกอง และวหมักต่ออีก 6 ชั่วโมง จึงนำไปใช้ได้
3.ประโยชน์ที่ได้รับ
ใช้รองก้นหลุม หรือคลุมดินในการเพาะปลูก/ใส่ในแปลงนาโดยทั่วแล้วไถกลบ/ใส่ในไร่นาแล้วไถกลบ/ใส่คลุมดินในไร่ ในสวน
แหล่งข้อมูล ดูที่นี่
ฟางหมัก 24 ชั่วโมง
เป็นการนำฟางข้าว มาหมักก่อนจะนำมาใช้เป็นปุ๋ย คุณภาพจะดีขึ้น แต่ต้องสับหั่นให้มีขนาดเล็ก ฟางฟ่อนต้องสับให้มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หากเป็นฟางจากเครื่องสีสามารถใช้ได้เลย เพราะฟางจะนิ่ม
1.ส่วนประกอบและอุปกรณ์
ฟางข้าว 10 หน่วย/EM โบกาฉิ1/2 ส่วนตามภาชนะตวง/รำละเอียด1/2 /EM+กากน้ำตาล+น้ำ อัตราส่วน 1:1:500 ผสมน้ำแยกไว้(น้ำ 1 บัว ประมาณ 10 ลิตร กากน้ำตาล อย่างละ 20 ซีซี หรือ 2 ช้อน คนให้ละลาย)
2.วิธีการทำ
นำน้ำผสม EM กากน้ำตาลมารด ฟางข้าว คลุกให้ทั่ว ให้มีความชื้นโดยทั่ว(ระวังน้ำไหลนองพื้น)/นำโบกาฉิผสมกับรำ แล้วนำมาโรยให้ทั่วฟาง คลุกให้เข้ากัน/หมักโดยการกรองปุ๋ยเป็นฝาชีคว่ำ หรือเป้นกองยาวๆ สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบปานหรือ แสลน หรือคลุมด้วยฟางแห้ก็ได้ หมักไว้ 18 ชั่วโมงกลับกอง และวหมักต่ออีก 6 ชั่วโมง จึงนำไปใช้ได้
3.ประโยชน์ที่ได้รับ
ใช้รองก้นหลุม หรือคลุมดินในการเพาะปลูก/ใส่ในแปลงนาโดยทั่วแล้วไถกลบ/ใส่ในไร่นาแล้วไถกลบ/ใส่คลุมดินในไร่ ในสวน
แหล่งข้อมูล ดูที่นี่
Tuesday, December 8, 2009
อิฐฟางข้าว
อย่างที่รู้กันเป็นอย่างดีว่าวัสดุการก่อสร้างร่วมทั้งอิฐและกระเบื้องมีราคาสูงขี้น จึงได้มีความคิดที่จะใช้เศษวัสดุเหลือใช้คือฟางข้าวที่สามารถหาได้ทั่วไปมาใช้ทำอิฐ โครงการนี้เป็นของโรงเรียนท่าอิฐศึกษา จังหวัดนนทบุรี
วิธีการทำอิฐฟางข้าว
1. นำฟางข้าวมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำฟางข้าวไปหมักกับปูนขาว 5-7วัน
3. ผสมเส้นฟาง 3 ส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน เติมน้ำพอสมควร อย่าให้เหลวจนเกินไป
4. เตรียมกรอบไม้แม่แบบสำหรับทำอิฐอัดแผ่น (ตามขนาดอิฐที่ต้องการ)
5. เทส่วนผสมลงในแม่แบบ เกลี่ยให้เรียบ เอาส่วนผสมซีเมนต์ที่เหลือเทลงให้เต็มกรอบ ใช้เกรียงหรือไม้กวาดให้เรียบ
6. ทิ้งไว้ 1 วัน แกะกรอบไม้ออก แล้วบ่มฟางซีเมนต์ต่อสัก 7 วัน (บ่มอิฐฟางในกระสอบฟาง คลุมและรดน้ำให้ชื้น)
ก็จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นอิฐฟางข้าว นำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างต่อไป
อนึ่ง ในการศึกษาเรื่อง”อิฐบล็อกมวลเบาจากวัสดุธรรมชาติ” โดยนักเรียน ม.ต้น ของโรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา”จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผลงานที่ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออก ได้พบว่าอิฐบล็อกจากฟางข้าว เป็นอิฐบล็อกมวลเบาจากวัสดุธรรมชาติที่รับแรงอัดได้ดีที่สุด
ดูวิธีทำอิฐฟางข้าวในวิดีโอคลิปได้ที่นี่
และดูรูปลักษณ์ของอิฐฟางข้าวที่นี่
วิธีการทำอิฐฟางข้าว
1. นำฟางข้าวมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำฟางข้าวไปหมักกับปูนขาว 5-7วัน
3. ผสมเส้นฟาง 3 ส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน เติมน้ำพอสมควร อย่าให้เหลวจนเกินไป
4. เตรียมกรอบไม้แม่แบบสำหรับทำอิฐอัดแผ่น (ตามขนาดอิฐที่ต้องการ)
5. เทส่วนผสมลงในแม่แบบ เกลี่ยให้เรียบ เอาส่วนผสมซีเมนต์ที่เหลือเทลงให้เต็มกรอบ ใช้เกรียงหรือไม้กวาดให้เรียบ
6. ทิ้งไว้ 1 วัน แกะกรอบไม้ออก แล้วบ่มฟางซีเมนต์ต่อสัก 7 วัน (บ่มอิฐฟางในกระสอบฟาง คลุมและรดน้ำให้ชื้น)
ก็จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นอิฐฟางข้าว นำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างต่อไป
อนึ่ง ในการศึกษาเรื่อง”อิฐบล็อกมวลเบาจากวัสดุธรรมชาติ” โดยนักเรียน ม.ต้น ของโรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา”จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผลงานที่ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออก ได้พบว่าอิฐบล็อกจากฟางข้าว เป็นอิฐบล็อกมวลเบาจากวัสดุธรรมชาติที่รับแรงอัดได้ดีที่สุด
ดูวิธีทำอิฐฟางข้าวในวิดีโอคลิปได้ที่นี่
และดูรูปลักษณ์ของอิฐฟางข้าวที่นี่
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับธุรกิจอัดฟางก้อน
1.คำถาม: ธุรกิจฟางอัดก้อนจะมีลูกค้าเป็นใคร
คำตอบ:ลูกค้าของธุรกิจฟางอัดก้อนส่วนใหญ่ คือ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น โค กระบือ แพะ แกะ ซึ่งออกมาในรูปรับจ้างอัดฟางเป็นก้อนในนาของเจ้าของเจ้าของฟาร์มนั้นๆ ในราคาค่าอัดก้อนละระหว่าง 12-15 บาท หรือในรูปของการขายฟางอัดก้อนที่เจ้าของธุรกิจอัดก้อนฟางอัดไว้ขายในราคาก้อนละ ระหว่าง 30-35 บาท
2.คำถาม:ฟางในนาข้าวเจ้าของเขาหวงไหม
คำตอบ:ไม่หวง เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาต้องการขจัดฟางออกจากนาอยู่แล้ว เขาเห็นรถอัดฟางไปขออัดเขาจะดีใจด้วยซ้ำ เพราะเขาไม่ต้องออกแรงกำจัดฟางด้วยการเผาเหมือนแต่เดิม
3.คำถาม:ฟางอัดก้อนที่ก้อนไม่แน่นดีเพราะเหตุใด
คำตอบ :ปกติฟางอัดก้อนด้วยเครื่องจักรจะแน่นดีมาก แต่ในกรณีที่ไม่แน่นอาจเป็นเพราะฟางอัดก้อนมีขนาดยาวเกินไปก็ได้
4.คำถาม :เชือกอัดฟางที่นิยมใช้กับเครื่องอัดฟางควรใช้ยี่ห้ออะไร
ที่นิยมใช้กันในหมู่ผู้อัดฟาง คือ เชือกฟางยี่ห้อสามห่วง เบอร์ 8 และ เบอร์ 10
5.คำถาม:จะหาฟางมาเป็นวัตถุดิบในการอัดฟางได้ที่ไหน
คำตอบ:ฟางหาได้จากนาหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ไม่ว่าจะเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรหรือเกี่ยวด้วยแรงคนก็ตาม นาข้าวหาได้เกือบทุกฤดูกาล เนื่องจากปัจจุบันคนไทยนิยมทำนาหลายครั้ง และทำนาทั่วทุกภาค
6.คำถาม : ฟางก้อนจะขายดีตอนไหน
คำตอบ : ฟางอัดก้อนขายดีทุกหน้า แต่จะขายดีและได้ราคาดีมากในช่วงหน้าน้ำท่วม หรือในช่วงทำนา เพราะช่วงนั้นเจ้าของสัตว์หาหญ้าสดให้สัตว์กินไม่ได้ หรือเจ้าของผู้เลี้ยงสัตว์ไม่มีเวลาไปหาหญ้ามาให้สัตว์กิน เพราะฉะนั้นผู้ทำธุรกิจฟางอัดก้อนควรมีโรงเก็บฟางอัดก้อนที่สามารถกันฝนและกันน้ำท่วมไว้เก็บฟางอัดก้อนไว้ขายในช่วงเวลาขายดีมีราคาดังกล่าว
7.คำถาม :ฟางที่จะใช้อัดใช้จากฟางที่ทำเป็นกองฟางไว้ได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ โดยเครื่องอัดฟางก็จะตั้งอยู่กับที่ และใช้เครื่องรถไถปั่นเครื่องอัดฟางให้ทำงาน โดยมีคนทำหน้าที่ใส่ฟางเข้าเครื่องอัด
Monday, November 30, 2009
ประโยชน์ของฟางข้าว
1.ใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) ฟางข้าวเป็นแหล่งพลังงานที่ปราศจากคาบอน ได้ถูกนำไปใช้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพลังงานที่เรียกว่า ไบโอบูตานอล (biobutanol)
2.ใช้ในโรงงานพลังงานมวลชีวภาพ(Biomass) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในกลุ่มประเทศอียู(EU) ทั้งนี้โดยใช้ฟางอัดฟางก้อนโดยตรงบ้าง ใช้ฟางอัดเป็นเมล็ดสำหรับเป็นอาหารสัตว์บ้าง ใช้ฟางอัดเป็นเมล็ดเพื่อเป็นเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานสูงพอๆกับถ่านหิน หรือแก๊สธรรมชาติบ้าง
3.ใช้ยัดเป็นที่นอนของมนุษย์และสัตว์ (Bedding humans or livestock) ซึ่งที่นอนแบบนี้มีใช้กันอยู่ตามส่วนต่างๆของโลก
4.ใช้เลี้ยงสัตว์ (Animal feed) เช่น แพะ แกะ วัว ควาย อูฐ เพราะให้พลังงานสูง ย่อยง่าย และมีคุณค่าทางอาหาร
5.ใช้ทำหมวกและภาชนะสานต่างๆ เมื่อครั้งอดีตในประเทศแถบยุโรป เช่นประเทศอังกฤษ คนนิยมหมวกที่สานด้วยฟางข้าวมาก ปัจจุบันหมวกที่สานด้วยฟางจะนำเข้าจากต่างประเทศ
6. ใช้มุงหลังคา เช่นเดียวกับหญ้าคา จาก เป็นต้น หลังคาที่ทำด้วยฟางมีคุณสมบัติกันฝนได้ดี มีน้ำหนักเบา และเป็นฉนวนกันร้อน ดีกว่าและมีราคาถูกกว่าฉนวนกันร้อนอื่นๆ
7. ใช้ทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ (Packaging) เพราะมีความแข็งแรง ทนทานต่อการกระทบ
8.ใช้ทำกระดาษ (Paper) ใช้เป็นเยื่อทำกระดาษได้
9.ใช้ทำเป้ายิงธนู (Archery targets) แต่เดิมใช้ฟางถักด้วยมือ แต่ปัจจุบันใช้ถักด้วยเครื่องจักร
10.ใช้ทำปลออกคอม้า (Horse collars) เพราะฟางมีความเหนียวแน่นกว่าวัสดุอย่างอื่น
11.ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง(Construction material)เช่นเดียวกับ อิฐ และดินดิบ ตามส่วนต่างๆของโลกจะใช้ฟางผสมกับดินเหนียวและคอนกรีต ใช้ดินเหนียวผสมกับฟาง เรียกวัสดุชนิดนี้ว่า cob เป็นวัสดุในการก่อสร้างอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุที่ฟางมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันร้อน เขาจึงใช้ฟางสร้างบ้านโดยไม่ต้องมีโครงร่างอย่างอื่น หรือจะนำฟางมาสร้างโดยมีโครงร่างเป็นไม้หรือเป็นเหล็กก็ได้ บ้านที่สร้างแบบนี้เขาเรียกว่าบ้านก้อนฟาง (straw bale houses)
12. ใช้ทำเอ็นไวโรบอร์ด (Enviroboard)
13.ใช้ทำเชือก (Rope)
14.ใช้สานเป็นภาชนะต่างๆ (Basketry)
15.ใช้ทำรองเท้า ในประเทศเกาหลีนิยมใช้ฟางมาสานเป็นร้องเท้า และในประเทศเยอรมนีก็นิยมใช้รองเท้าเช่นเดียวกัน
16.ใช้ในการปลูกพืช (Horticulture) เช่น ในแปลงเพาะเห็ด แปลงปลูกแตง ในประเทศญี่ปุ่นใช้ฟางคลุมต้นไม้ในฤดูหนาวเพื่อมิให้พืชตายและใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืช และยังใช้ฟางเพื่อลดจำนวนของสาหร่ายในสระน้ำหรือในหนองน้ำได้ด้วย ใช้ฟางคลุมดินใต้ต้นสตรอเบอร์รี่เพื่อมิให้ผลสุกสุกงอมเร็ว
แหล่งข้อมูล : วิกิพีเดีย
บานประตูจากฟางข้าว แข็งแรง ทนทาน ทนน้ำ ทนไฟ
ประเทศไทยเราเป็นประเทศที่ปลูกข้าวเป็นหลัก มีพื้นที่ปลูกร่วม 10 ล้านไร่ เศษฟางข้าวที่เหลือหลังเก็บเกี่ยวแล้วนั้นส่วนใหญ่จะถูกปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยในท้องนา หรือไม่ก็เผาไฟทำลายทิ้ง สร้างมลภาวะให้กับบรรยากาศและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนเราเป็นอย่างยิ่ง
แต่จากการวิจัยค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ ทำให้เราสามารถนำเอาฟางข้าว หรือเศษเหลือใช้จากผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ เช่น หญ้าแห้ง ต้นข้าวโพด ข้าวฟ่าง มาผลิตเป็นบานประตูที่สวยงาม คงทนไม่แพ้บานประตูที่ทำด้วยไม้เลย มีความแข็งแกร่งทนทาน ไม่ติดไฟ ไม่บิดไม่งอ ไม่หดไม่เสียรูป ขึ้นรูปได้ในขั้นตอนเดียว ไม่มีของเสียตกค้างสร้างมลภาวะซ้ำสอง แต่ที่แน่ๆก็คือ ราคาถูกกว่าเป็นเท่าๆตัว นับเป็นการนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เพิ่มคุณค่าให้กับเศษวัสดุไร้ประโยชน์ที่ต้องทำลายทิ้ง ฉะนั้น อย่าได้เผาทำลายฟางข้าวอีกต่อไป นำมันมาเปลี่ยนเป็นเงินดีกว่า
แหล่งข้อมูล
Thursday, November 26, 2009
ตัวอย่างการก่อสร้างบ้านฟางอัดก้อน
ข้อดีของบ้านฟางอัดก้อน
1.บ้านฟางอัดก้อนมีความแข็งแรงและทนทาน ต้านลมพายุและแผ่นดินไหวได้ดี
2.บ้านฟางอัดก้อนมีผนังหนา เป็นฉนวนธรรมชาติ ทำให้ไม่หนาวมากในหน้าหนาว และไม่ร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน
3.บ้านฟางอัดก้อนเก็บเสียงได้ดี
4.บ้านฟางอัดก้อนราคาไม่แพง เพราะสร้างด้วยวัสดุที่ถูกคือฟางอัดก้อนเสียส่วนใหญ่
5.บ้านฟางอัดก้อนเป็นมิตรกับธรรมชาติ ไม่ก่อมลพิษ
ที่นำมาเสนอนี้เเป็นบ้านฟางอัดก้อนที่นิยมสร้างกันในสหรัฐอเมริกา และในทวีปยุโรป ในบ้านเราผู้คนกำลังเริ่มให้ความสนใจกันมาก เนื่องจากเป็นบ้านธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อมลพิษ ภายในบ้านฟางอัดก้อนไม่ร้อนอบอ้าวเพราะมีก้อนฟางหนาทำหน้าที่เป็นฉนวนธรรมชาติ ราคาต้นทุนต่ำกว่าบ้านแบบเดิมมาก
ตัวอย่างบ้านฟางอัดก้อน
-2 ห้องนอน
-1 ห้องน้ำ
-ห้องนั่งเล่นและห้องอาหาร
-ห้องครัว
-ประตูกว้างวีลแชร์เข้าออกได้
-ใช้วัสดุธรรมชาติไม่มีอันตรายทั้งหมด
-พื้นที่ภายใน 1025 ฟุต พื้นที่ภายนอก 1188 ฟุต
ลำดับขั้นตอนการสร้างบ้านก้อนฟาง คลิกชมที่เว็บลิงค์นี้
Wednesday, November 11, 2009
ฟางอัดก้อนใช้สร้างบ้านฟางอัดก้อน
ในธุรกิจอัดฟางก้อนนี้ นอกจากเราจะผลิตอัดฟางก้อนเพื่อขายให้แก่เกษตกรที่เลี้ยงโคนม โคเนื้อ และโคพันธุ์แล้ว เราก็ยังจะสามารถผลิตฟางอัดก้อนเพื่อขายแก่คนที่จะสร้างบ้านฟางอัดก้อน ซึ่งเป็นบ้านที่กำลังเป็นที่สนใจของบรรดาคนในเมืองที่มีที่เหลือสำหรับจะสร้างเป็นห้องสมุด ห้องสมาธิ ห้องพระ ฯลฯ หรือแม้แต่เป็นบ้านหลังน้อยๆที่พักร้อน เป็นบ้านตากอากาศอยู่ตามท้องทุ่งในท้องถิ่นชนบท บ้านฟางอัดก้อนนี้เมื่อเราเข้าไปอยู่ข้างในจะเย็นสบาย อาจไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า ในประเทศตะวันตกเขาเรียกบ้านที่ทำด้วยฟางอัดก้อนว่า Straw Bale House ซึ่งเป็นบ้านที่นิยมปลูกกันมากทั้งในยุโรปและอเมริกา
วิธีการทำบ้านฟางอัดก้อน
1.เลือกพื้นก่อสร้างบ้านฟางอัดก้อน ต้องเป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมถึง หากเป็นที่ลุ่มต้องถมดินให้สูง
2.ทำฐาน ทำฐานบ้านฟางอัดก้อนด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 5 นิ้ว ฐานมีหน้ากว้างเท่ากับขนาดของฟางอัดก้อนที่จะนำมาใช้สร้าง
3.ฟางอัดก้อน ที่จะนำมาสร้าง ควรเป็นฟางใหม่ ที่แห้งสนิท ไม่มีเชื้อรา ไม่มีความชื้น อัดแน่นดี
4. วงกบ ประตูและหน้าต่างของบ้านฟางอัดก้อน ควรทำมาตั้งก่อนจะนำฟางอัดก้อนมาเรียงใส่
5.โครงหลังคาบ้านฟางอัดก้อน เมื่อก่อได้ความสูงขนาดที่ต้องการแล้ว ให้วางไม้รอบกำแพงทั้งหมด แล้วตีตะปูยึดติดกันให้แน่น แล้วทำโครงหลังคา จะมุงหลังคาด้วยสังกะสี กระเบื้อง หรือหญ้าคา หรือจาก ก็ได้ตามอัธยาศัย
6.การฉาบ จะฉาบฝาบ้านฟางอัดก้อนทั้งในและนอกด้วยดินหรือปูนซีเมนต์ก็ได้
7.ทาสีฝาบ้านฟางอัดก้อน ให้ทาข้างบนลงข้างล่าง
8.การทำพื้นบ้านฟางอัดก้อน จะทำเป็นพื้นอะไรก็ได้ จะป็นคอนกรีต กระเบื้อง พื้นดินก็ได้ แต่ พื้นดินจะมีปัญหาเรื่องปลวกอยู่บ้าง แต่ราคาพื้นดินจะถูกมาก
ชมเพื่อศึกษาแนวความคิดของการสร้างบ้านฟางอัดก้อนจากคลิปวิดิโอนี้
คลิกชมลิงค์นี้ด้วยครับ THIS NEW GREEN HOUSE
Tuesday, November 3, 2009
ควรใช้ใบมะรุมสดผสมฟางใช้เลี้ยงสัตว์เพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างได้ผล
สำหรับท่านที่สนใจซื้อฟางอัดก้อนไปให้สัตว์เช่นโคและกระบือกิน ควรทราบข้อมูลด้วยว่า ใบมะรุมสดที่หาได้ง่ายๆตามบ้านเรา เมื่อนำไปใช้ผสมกับอาหารปกติให้สัตว์กินจะช่วยเพิ่มผลผลิตด้านเนื้อและนมของสัตว์ได้เป็นอย่างดี
ในการวิจัยพบว่า ใบมะรุมสดมีธาตุอาหารและโปรตีนสูงสำหรับการบริโภคของมนุษย์ ในขณะเดียวกันมันก็มีคุณค่าทางอาหารและมีโปรตีนสูงสำหรับการบริโภคของสัตว์เช่นเดียวกัน
-จากการทดลองของ Mr. Nikolaus Foidl
Mr. Nikolaus Foidl นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรีย ซึ่งไปอาศัยอยู่ที่ประเทศนิการากัว กำลังทำการทดลองการใช้ใบมะรุมสำหรับเลี้ยงสัตว์ เขากับคณะกำลังทดลองประโยชน์ต่างๆของมะรุมตั้งแต่ทศวรรษปี 1990 ทั้งนี้โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย โฮเฮนไฮม์(University of Hohenheim) ประเทศเยอรมนี และ สถาบันเทคโนโลยีสมาพันธรัฐสวิส (The Swiss Federal Institute of Technology) เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ในการทดลองโครงการหนึ่งของ Mr. Nikolaus Foidl และคณะ เขาได้ทดลองให้วัวกินใบมะรุมน้ำหนัก 15-17 กิโลกรัมโดย ผสมลงไปกับอาหารปกติทุกวัน ผลปรากฏว่า
-วัวนมจะให้นมเพิ่มขึ้น 45 %
-วัวเนื้อให้เนื้อเพิ่มขึ้นวันละ 32 %
-วัวพันธุ์ ตกลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตัวละ 3-4 กิโลกรัม(ปกติวัวพันธุ์เจอร์ซี ตกลูกมีน้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 22 กิโลกรัม)
ปัจจุบัน Mr. Nikolaus Foidl และคณะก็กำลังทำการทดลองใบมะรุมกับวัวจำนวนมากอยู่ที่ประเทศโบลิเวีย โดยให้วัวหลายพันตัวกินใบมะรุมผสมกับฟาง
-จากการศึกษาของ Dr. Nadir Reyes Sanchez
ในปี ค.ศ. 2006 Dr. Nadir Reyes Sanchez ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สวีเดน (The Swedish University of Agricultural Sciences) เมืองอุปป์ซาลา ประเทศสวีเดน ได้ทำการวิจัยโดยการเปรียบเทียบการให้นมในแต่ละวันของวัวนมที่ให้กินฟางอย่างเดียวกับวัวนมที่ให้กินฟางผสมกับใบมะรุม ผลปรากฏว่า
-วัวที่ให้กินฟางอย่างเดียว ให้น้ำนมวันละ 3.1 กิโลกรัม
-วัวที่ให้กินฟางผสมใบมะรุม 2 กิโลกรัม ให้นมวันละ 4.9 กิโลกรัม(เพิ่มขึ้น 58%)
-วัวที่ให้กินฟางผสมใบมะรุม 3 กิโลกรัม ให้นมวันละ 5.1 กิโลกรัม(เพิ่มขึ้น 65%)
ประโยชน์ที่จะเกิดกับเกษตรกร
หากใบมะรุมสามารถเพิ่มน้ำหนักเนื้อของวัวเนื้อและเพิ่มน้ำหนักนมของวัวนมได้จริงอย่างที่ทำการทดลองข้างต้น ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลสำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อ โคพันธุ์ และโคนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรในแถบเอเชียและแอฟริกา การใช้ใบมะรุมเลี้ยงวัวเป็นวิธีเพิ่มผลผลิตที่ใช้ต้นทุนต่ำ และในเมืองไทยเราเองเกษตรกรก็ควรนำวิธีนี้มาใช้ได้เช่นเดียวกัน.
Labels:
ธุรกิจอัดฟางก้อน,
ใบมะรุมใช้เลี้ยงสัตว์,
อัดฟาง,
อัดฟางก้อน
ข้อแนะนำวิธีทำธุรกิจอัดฟางก้อนให้ประสบความสำเร็จ
รถไถนาใช้ลากจูงเครื่องอัดฟางก้อน
เครื่องอัดฟางก้อน
ผู้บริโภคฟางอัดก้อน คือ วัวเนื้อ วัวนม วัวพันธุ์
ฟางอัดก้อนใช้สร้างบ้านแทนอิฐได้
ปิกอัพบรรทุกฟางอัดก้อน
รถบรรทุกฟางอัดก้อน
กองฟางอัดก้อน
ธุรกิจอัดฟางก้อน เป็นธุรกิจที่มีตลาดรองรับดีมาก สามารถทำได้ตลอดปี เนื่องจากมีการทำนาปีละหลายครั้ง และมีแหล่งฟางทั่วทุกภาคของประเทศไทย ฟางที่เราจะนำมาใช้เป็นวัสดุผลิตอัดฟางก้อน เราสามารถหาได้โดยสะดวก และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการจำกัดฟางออกจากนาของตนอยู่แล้ว
การจะทำให้ธุรกิจอัดฟางก้อนประสบความสำเร็จ มีสิ่งต้องเตรียมการดังนี้
1.ต้องมีเครื่องอัดฟางก้อน ราคาเครื่องมือสองระหว่าง 180,000-200,000 บาท
2.มีรถไถสำหรับลากจูงเครื่องอัดฟางก้อน ตัวอย่าง คูโบต้า (มือสอง) ราคาระหว่าง 150,000 -200,000 บาท (ซื้อเงินผ่อนได้)
3.มีลูกค้าประจำอัดฟางก้อน หาได้โดยประกาศโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามย่านที่มีการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ โคพันธุ์ และย่านที่มีการเพาะเห็ด หรือปลูกผัก
4.มีนายหน้าหาลูกค้าอัดฟางก้อนให้ ทำหน้าที่หาแหล่งฟางให้เรา และอำนวยความสะดวกต่างๆให้ โดยเราแบ่งเปอร์เซนต์ให้เขา
5.มีโกดังเก็บอัดฟางก้อน เพื่อสำรองอัดฟางก้อนไว้ขายหน้าฝน หน้าน้ำท่วม ซึ่งหน้านี้จะขายดีมาก
6.ต้องเตรียมตัวทำงานธุรกิจอัดฟางก้อนหนักมากในช่วง พ.ย.-ส.ค. เนื่องจากมีการจ้างอัดฟางก้อนชุกมาก
7.เราสามารถอัดฟางก้อนได้ประมาณวันละ 500-600 ก้อน
8.ราคารับจ้างอัดฟางก้อน ก้อนละ ระหว่าง 10-15 บาท
9.ราคาขายปลีกฟางอัดก้อน ก้อนละ ระหว่าง 25-30 บาท
เครื่องอัดฟางก้อน
ผู้บริโภคฟางอัดก้อน คือ วัวเนื้อ วัวนม วัวพันธุ์
ฟางอัดก้อนใช้สร้างบ้านแทนอิฐได้
ปิกอัพบรรทุกฟางอัดก้อน
รถบรรทุกฟางอัดก้อน
กองฟางอัดก้อน
ธุรกิจอัดฟางก้อน เป็นธุรกิจที่มีตลาดรองรับดีมาก สามารถทำได้ตลอดปี เนื่องจากมีการทำนาปีละหลายครั้ง และมีแหล่งฟางทั่วทุกภาคของประเทศไทย ฟางที่เราจะนำมาใช้เป็นวัสดุผลิตอัดฟางก้อน เราสามารถหาได้โดยสะดวก และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการจำกัดฟางออกจากนาของตนอยู่แล้ว
การจะทำให้ธุรกิจอัดฟางก้อนประสบความสำเร็จ มีสิ่งต้องเตรียมการดังนี้
1.ต้องมีเครื่องอัดฟางก้อน ราคาเครื่องมือสองระหว่าง 180,000-200,000 บาท
2.มีรถไถสำหรับลากจูงเครื่องอัดฟางก้อน ตัวอย่าง คูโบต้า (มือสอง) ราคาระหว่าง 150,000 -200,000 บาท (ซื้อเงินผ่อนได้)
3.มีลูกค้าประจำอัดฟางก้อน หาได้โดยประกาศโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามย่านที่มีการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ โคพันธุ์ และย่านที่มีการเพาะเห็ด หรือปลูกผัก
4.มีนายหน้าหาลูกค้าอัดฟางก้อนให้ ทำหน้าที่หาแหล่งฟางให้เรา และอำนวยความสะดวกต่างๆให้ โดยเราแบ่งเปอร์เซนต์ให้เขา
5.มีโกดังเก็บอัดฟางก้อน เพื่อสำรองอัดฟางก้อนไว้ขายหน้าฝน หน้าน้ำท่วม ซึ่งหน้านี้จะขายดีมาก
6.ต้องเตรียมตัวทำงานธุรกิจอัดฟางก้อนหนักมากในช่วง พ.ย.-ส.ค. เนื่องจากมีการจ้างอัดฟางก้อนชุกมาก
7.เราสามารถอัดฟางก้อนได้ประมาณวันละ 500-600 ก้อน
8.ราคารับจ้างอัดฟางก้อน ก้อนละ ระหว่าง 10-15 บาท
9.ราคาขายปลีกฟางอัดก้อน ก้อนละ ระหว่าง 25-30 บาท
Labels:
Square-Baler,
เครื่องอัดฟาง,
ฟางอัด,
ฟางอัดก้อน,
อัดฟางก้อน
จำหน่ายเครื่องอัดฟางก้อน Massey Ferguson และ Jones Baler
คุณสมบัติเฉพาะ
1.ใช้ติดท้ายรถไถนาตั้งแต่ 35 แรงม้าขึ้นไป
2.เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการอัดฟางก้อนสูง
3.ทำให้ได้ฟางอัดก้อนได้คุณภาพ
4.ทำให้ฟางอัดก้อนไม่แตกหลุดร่วงออกจากก้อน
5.จะทำการมัดฟางก้อนด้วยเชือกโดยอัตโนมัติ
6.มีตัวนับฟางอัดก้อนโดยอัตโนมัติ
7.มัดฟางก้อนสามารถขนย้ายโดยสะดวก
8.ก้อนฟางอัดมีรูปเป็นสี่เหลี่ยม
9.ก้อนฟางอัด สามารถปรับความยาวและน้ำหนักได้ตามต้องการ
10.ตัวเครื่องมัดฟางก้อนสามารถเคลื่อนย้ายสะดวกโดยรถบรรทุก 6 ล้อ
ติดต่อที่
มิตร ขุนศรี
193/1 หมู่ 2 ต.หัวดง
อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์
60230
โทรบ้าน 056-299-427
มือถือ 089-799-5395
Email Address thongbai_thira@yahoo.com
ราคากันเอง
เป็นสินค้าสั่งตรงจากต่างประเทศ
เครื่องคุณภาพดี พร้อมใช้งาน
มีบริการหลังขาย
เหมาะกับการใช้งานในประเทศไทย
คลิกชมการทำงานของเครื่องจักร Massey-ferguson ที่ลิงค์นี้ครับ
คลิกชมการทำงานของ Massey-ferguson อีกรุ่นครับ
คลิกชมการทำงานของเครื่องจักร Jones MK 12T baler ที่นี่ครับ
และรับอัดฟางก้อน ราคาย่อมเยา
Labels:
Square-Baler,
เครื่องอัดฟาง,
ฟางอัด,
ฟางอัดก้อน,
อัดฟางก้อน
Subscribe to:
Posts (Atom)