Google

Tuesday, December 29, 2009

รับซ่อมเครื่องอัดฟางก้อน Massey Ferguson

ท่านที่มีเครื่องอัดฟางก้อน Massey Ferguson ที่แก่ชรา สภาพไม่น่าไว้วางใจ ต้องการซ่อมแซมให้ใช้การได้ดีดังเดิม เราสามารถเดินทางไปซ่อมให้ท่านได้ทั่วทุกแห่ง ทั่วพระราชอาณาจักร ราคาเป็นกันเองขอรับกระผม

ติดต่อที่
มิตร ขุนศรี

193/1 หมู่ 2 ต.หัวดง
อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์
60230

โทรบ้าน 056-299-427
มือถือ 089-799-5395
Email Address: thongbai_thira@yahoo.com

Thursday, December 24, 2009

เครื่งอัดฟางก้อนMassey Ferguson ขณะทำงาน โดยมีรถไถคูโบต้าลากจูง





การอัดฟางก้อนครั้งนี้ทำในที่นาซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอำเภอเก้าเลี้ยง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้จ้างให้มาอัดเป็นเจ้าของกิจการเป็ดไล่ทุ่ง เขาจะนำฟางอัดก้อนไปใช้ปูพื้นดินเป็นที่รองนอนของลูกเป็ดที่ฟักเป็นตัวใหม่ๆ ซึ่งแต่เดิมเคยใช้แกลบเป็นที่รองนอนของลูกเป็ดแต่ปัจจุบันแกลบตามโรงสีมีราคาแพงมาก เจ้าของเป็ดไล่ทุ่งทั้งหลายจึงหันมาใช้ฟางอัดก้อนแทน

Saturday, December 12, 2009

ขั้นตอนการใช้ฟางและวัสดุอย่างอื่นทำกระดาษด้วยมือแบบพื้นบ้าน

วัสดุที่ใช้ในการทำกระดาษ คือฟางข้าว ใบและกาบกล้วย ใบสับปะรด ผักตบชวา ปอสา ขั้นตอนมีดังนี้

-การเตรียมวัตถุดิบ
-การล้างเยื่อ
-การฟอกเยื่อ
-การกระจายเยื่อ
-การทำแผ่นกระดาษ

ดูรายละเอียดได้ที่นี่

การใช้ฟางข้าวทำเยื่อกระดาษ

จากผลงานการวิจัยในวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเตรียมเยื่อกระดาษจากฟางข้าวภายใต้สภาวะกรด” โดย สรียา ศรวิบูลย์ศักดิ์ และ ชญานิษฐ์ คำมัญ แห่งภาควิชาเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ศึกษาถึงการใช้ฟางข้าวมาทำเยื่อกระดาษ ซึ่งในบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์ดังกล่าวมีความว่า


ปัจจุบันยอดการใช้กระดาษทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้น การขยายตัวของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการมีข้อจำกัดในเรื่องของเนื้อที่ป่าไม้ รวมถึงการขาดแคลนเยื่อบางประเภทของประเทศต่างๆ ทำให้การหาแหล่งเยื่อชนิดใหม่เพื่อนำมาใช้ในการผลิตกระดาษเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในกรณีของประเทศไทยนั้น ข้าว (Rice) จัดเป็นพืชเศรษฐกิจหลักซึ่งมีผลพลอยได้ที่เหลือใช้ สามารถจัดเป็นทางเลือกแหล่งเยื่อชนิดใหม่ได้เช่นกัน งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษา การเตรียมเยื่อกระดาษ จากฟางข้าวภายใต้สภาวะกรด การทดลองนี้เริ่มจากการนำฟางข้าวมาต้มโดยทำการต้มเยื่อแบบ acid pulping ในสารละลายของกรดฟอร์มิก (formic acid) , กรดอะซิติก (acetic acid) และ น้ำ ในอัตราส่วนต่างๆ กัน ที่อุณหภูมิ 100-110 ๐C โดยวิธีการต้มเยื่อ จะทำการศึกษา 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 จะทำการต้มเยื่อ กับปั่นเยื่อไปพร้อมๆ กัน เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และ วิธีที่ 2 จะต้มเยื่อ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำมาตีเยื่อในน้ำ เป็นเวลา 30 นาที โดยที่ กรดฟอร์มิกจะเข้าไป จะไปทำปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อทำการแยกลิกนินออก ปริมาณ กรดฟอร์มิก ที่ใช้ในแต่ละภาวะคือ 0% , 10% , 20% และ 30% ของน้ำหนักของสารเคมีที่ใช้ในการต้มเยื่อ โดยปริมาณของสารเคมีที่ใช้ในการต้มเยื่อต่อน้ำหนักฟางข้าวแห้ง คือ 12 : 1 หลังจากฟางข้าวผ่านกระบวนการต้มเยื่อแล้ว จะนำเยื่อที่ได้ไปทดสอบหา ปริมาณลิกนินที่เหลืออยู่ โดยวัดในเทอมของเลขแคปปา และสภาพระบายได้ของเยื่อ (Freeness) เยื่อที่ได้บางส่วนจะถูกสุ่มขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาลักษณะของเส้นใย และ เยื่ออีกส่วนหนึ่งจะนำไปทำแผ่นทดสอบ (Handsheets) เพื่อทดสอบสมบัติความแข็งแรงและสมบัติเชิงแสง (Strength and optical properties) ซึ่งจากการทดลองพบว่าปริมาณของ กรดฟอร์มิก ที่ใช้มีผลต่อปริมาณลิกนินที่เหลืออยู่ในเยื่อ อย่างไรก็ดีอิทธิพลของปริมาณ กรดฟอร์มิก ที่ใช้ สามารถเห็นได้ชัดเจนขึ้น ในการศึกษาด้านความขาวสว่าง และ ความแข็งแรงของเยื่อ ซึ่งพบว่าค่าความขาวสว่าง, ดัชนีความต้านทานแรงดึง, ดัชนีความต้านทานแรงดันทะลุ และดัชนีความต้านทานแรงฉีกขาด จะเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของ กรดฟอร์มิก เพิ่มขึ้น

แหล่งข้อมูล ดูที่นี่

Thursday, December 10, 2009

ฟางอัดก้อนกับแปลงปลูกผักสวนครัว







ยายเคียบ ขุนศรี อายุ 72 ปี ชาวบ้านธารามะกอก ต.หัวดง อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ แกมีลูกชายทำธุรกิจอัดฟางก้อน ทั้งอัดฟางก้อนและขายเครื่องอัดฟางก้อนมือสอง แกเลยลองใช้ฟางก้อนของลูกชายมาทำสวนครัวโดยแกเน้นปลูกผักปลอดสารพิษตามยุคโลกาภิวัตน์และยุคเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ปรากฏว่าผักปลอดสารพิษของแกดังระเบิดเป็นที่นิยมของพวกแม่ค้าขายผักในย่านตลาดหัวดง ซึ่งแต่เดิมแกจะเอาผักปลอดสารพิษของแกบรรทุกจักรยานยี่ห้อคนจนไปขายส่งให้แก่แม่ค้าในตลาด แต่เดี๋ยวนี้ผักของแกติดตลาดเป็นที่นิยมบริโภคของมวลมหาประชาชนของตำบลหัวดงและตำบลใกล้เคียงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะฉุดเท่าไรก็ไม่ยอมลง แกเลยไม่ต้องขี่จักรยานยี่ห้อคนจนบรรทุกผักปลอดสารพิษไปขายอีกแล้ว เพราะพวกแม้ค้าผักในตลาดต่างยอมเหนื่อยแทนแกโดยขี่รถเครื่องมาสั่งออร์เดอร์สินค้าของแกถึงแปลงสวนครัววันละหลายครั้งเลยทีเดียว และเนื่องจากสวนครัวของแกมีทำเลฮวงจุ้ยดีอยู่ติดถนนใกล้ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง เมื่อมวลมหาประชาชนเดินผ่านไปผ่านมาเพื่อติดต่อราชการที่สำนักงาน อบต.หัวดง เห็นแปลงผักของแกซึ่งมีเอกลักษณ์พิเศษไม่เหมือนแปลงผักของบ้านอื่น คือมีกองฟางอัดก้อนกองอยู่เป็นตับๆพร้อมใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษตามสูตรพิเศษของแกด้วย ก็เลยเกิดความประทับใจพากันแวะซื้อผักของแกติดไม้ติดกันไปเสมอๆ และแถมผักของแกก็ราคามิตรภาพไม่แพงอย่างที่คิด โดยแกขายหน้าสวนแค่กิโลกรัมละ 10 บาทเท่านั้นเอง

ผักปลอดสารพิษที่ยายเคียบปลูกไว้มีดังนี้
1. ผักกินใบกินต้น เช่น คะน้า ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ผักกาดขาว
2. ผักกินฝักกินผล เช่น พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพู
3. ผักกินหัวกินราก เช่น ผักกาดหัว กระเทียม กระชาย ขมิ้น
4. ผักกินดอก เช่น กะหล่ำดอก ดอกแค ขจร
นอกจากจะปลูกผักสวนครัวแล้ว ยายเคียบยังขยันในการเผาถ่าน และถ่านของแกขึ้นชื่อว่าเป็นถ่านดีมีคุณภาพ เป็นของแท้ไม่มีอะไรยัดไส้ แกบรรจุถุงปุ๋ยใหญ่ขาย เพียงถุงละ 100 บาทเท่านั้นเอง แกเก็บถ่านของแกเป็นอย่างดีในไซโลที่ทำขึ้นพิเศษมีปริมาณไม่อั้น

ใครสนใจผักปลอดสารพิษและถ่านไม้คุณภาพดี
หรือต้องการอุดหนุนให้กำลังใจหรือต้องการดูงานปลูกผักปลอดสารพิษและเผาถ่านคุณภาพดีของแก
ก็ติดต่อแกได้ที่

นางเคียบ ขุนศรี
193/1 หมู่ 2 ต.หัวดง
อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ 60230

โทรบ้านยายเคียบ 056-299-427
โทรลูกชายยายเคียบ 089-799-5395

ปลูกข้าวนาปรัง ไม่ควรเผาฟางข้าว




เมื่อเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ไม่ควรเผาต้นซังข้าว ท่านผู้รู้แนะนำให้แยกฟางข้าวออกจากนา ไถกลบเฉพาะซังข้าว ช่วยเพิ่มปุ๋ยให้ดินและลดภาวะโลกร้อนพร้อมๆกัน

ฟางข้าวใช้เป็นพลังมวลชีวภาพได้



ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า

ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากและสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อนเพื่อการอบแห้งก็ตาม

ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2549 ที่ผ่านมา ไทยมีวัสดุชีวมวลคงเหลือจากการใช้ในภาคการเกษตรทั้งหมด 34 ล้านตัน ในจำนวนนี้ “ฟางข้าว” คือสิ่งที่เหลือมากที่สุด 24 ล้านตัน เพราะฉะนั้นถ้ามีการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือพลังความร้อนก็จะเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากเหล่านี้ เราสามารถตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนเล็กๆ ขนาด 500 กิโลวัตต์หรือ 1 เมกกะวัตต์ กระจายไปตามจุดต่างๆ ในจังหวัดที่มีชีวมวลคงเหลือและมีศักยภาพพอ ขณะเดียวกันวัสดุชีวมวลเหล่านี้ก็สามารถนำไปผ่านกระบวนการไพโรไลซิสเพื่อกลั่นให้เป็นน้ำมันดิบ หรือที่เรียกว่า น้ำมันชีวภาพ (BIO-OIL) และนำไปกลั่นต่อยอดให้เป็นน้ำมันเบนซินหรือดีเซลได้ ซึ่งหากนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 34 ล้านตันมาแปรรูปโดยกระบวนการดังกล่าวก็จะทำให้ได้น้ำมันชีวภาพถึง 7 ล้านตันหรือประมาณ 7 พันล้านลิตรต่อปีเลยทีเดียว ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ก็ได้นำเสนอต่อคณะทำงานด้านการพลังงาน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอรัฐบาลต่อไป

แหล่งข้อมูล

ฟางข้าวกับไข่เค็ม

ฟางข้าวสามารถใช้ประโยชน์ในการทำไข่เค็มได้ ทั้งนี้เป็นผลงานการศึกษาของอาจารย์สุภกาญจน์ พรหมขันธ์ อาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตอาหาร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสกลนคร

ขั้นตอนการทำนั้นเริ่มจาก การเตรียมไข่เป็ดสดโดยนำไข่เป็ดขนาดกลางที่มีอายุการเก็บไม่เกินหนึ่งมาล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง คัดไข่ที่แตกและมีรอยร้าวออก เพื่อป้องกันไข่เน่าระหว่างการพอก จากนั้นเตรียมเยื่อฟางข้าวโดยคัดคุณภาพของฟางข้าวที่ได้จากการเก็บใหม่ๆ ที่มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 3-4 เดือน ฟางข้าวจะต้องไม่ผุ ไม่ขึ้นรา และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ นำฟางข้าวที่คัดมาตากแดดให้แห้ง เก็บใส่ถุงพลาสติกที่ปิดสนิท

ส่วนขั้นตอนการต้มเยื่อฟางข้าว ที่ดัดแปลงจากกรรมวิธีการผลิตกระดาษสาด้วยวิธีชาวบ้านคือ ชั่งน้ำหนักฟางข้าวแห้งเติมน้ำต่อฟางข้าวในอัตราส่วน 1:8 และหาวัสดุหนักๆ มากดทับฟางข้าว แช่ทิ้งไว้ 1 คืนนำฟางข้าวที่แช่น้ำมาต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 40 นาที ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น ร้อยละ 2 จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดจนเยื่อฟางข้าวมีความเป็นกรดด่าง ประมาณ 7-7.5 จากนั้นนำเยื่อฟางข้าวที่ได้มาอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 6-8 ชั่วโมง หรือตากแดดนาน 1 วันก็จะได้เยื่อฟางข้าวที่พร้อมใช้งานได้ตลอด

โดยสามารถเก็บในถุงพลาสติกที่ปิดสนิทเพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไปต่อมา ขั้นตอนการเตรียมเกลือโซเดียมคลอไรด์เริ่มจากนำไปอบในตู้อบอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง จนเกลือแห้ง นำไปบดแล้วร่อนผ่านตะแกรงขนาด 1 มิลลิเมตร เก็บใส่ถุงพลาสติกที่ปิดสนิท เพียงเท่านี้ก็พร้อมสำหรับการผลิตไข่เค็ม

ขั้นตอนต่อมาคือนำเยื่อฟางข้าวที่เตรียมไว้มาผสมกับน้ำ เกลือ และน้ำสมุนไพรตามต้องการ จะได้เยื่อฟางข้าวที่เปียกหลังจากนั้นก็สามารถนำไปพอกหุ้มไข่เป็ดที่เตรียมเอาไว้จากนั้นนำไข่ที่พอกเสร็จบรรจุใส่ถุงพลาสติกชนิดมีซิบเก็บไว้นาน 25 วัน ไข่เค็มสมุนไพรชนิดโซเดียมต่ำพอกด้วยเยื่อฟางข้าว

แหล่งข้อมูล

ประโยชน์ของฟางข้าวในการเกษตร

1. ฟางข้าวช่วยทำให้ดินมีปริมาณของอินทรีย์วัตถุในดินมากขึ้น

2. ฟางข้าวช่วยทำให้แปลงผักที่ถูกคลุมด้วยฟางข้าวมีสภาพจุลนิเวศ (Microclimate) เหนือผิวดินเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และไส้เดือน เป็นต้น

3. ฟางข้าวช่วยคลุมวัชพืช โดยการบังแสงแดด ไม่ให้วัชพืชเติบโตได้

4. ฟางข้าวช่วยบังแสงแดด ทำให้ดินมีความชื้นอยู่ได้นานเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ทำให้ผลผลิตสูงกว่าดินที่ไม่มีฟางข้าวปกคลุม

5. ฟางข้าวเมื่อเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารแก่พืชเมื่อฟางข้าวย่อยสลายแล้วจะได้ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่สำคัญมีธาตุซิลิก้า (Sio) ด้วย

Wednesday, December 9, 2009

การทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว

ผู้ทำธุรกิจอัดฟางก้อน พึงตระหนักว่า คนไทยตื่นตัวในเรื่องนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ผลิตสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มาก ในหมู่เกษตรกรไทยก็พยายามลดการใช้สารเคมีในการเกษตรกรรม แต่หันไปทำเกษตรแบบชีวภาพ(Organic Agriculture) หนึ่งในสิ่งที่เกษตรสนใจทำในขณะนี้คือการทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดที่ต้องการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนที่จะเอารัดอาเปรียบมันเหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นผู้ทำธุรกิจอัดฟางก้อนจึงมองเห็นอนาคตว่าจะไปด้วยดี

ฟางหมัก 24 ชั่วโมง

เป็นการนำฟางข้าว มาหมักก่อนจะนำมาใช้เป็นปุ๋ย คุณภาพจะดีขึ้น แต่ต้องสับหั่นให้มีขนาดเล็ก ฟางฟ่อนต้องสับให้มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หากเป็นฟางจากเครื่องสีสามารถใช้ได้เลย เพราะฟางจะนิ่ม

1.ส่วนประกอบและอุปกรณ์

ฟางข้าว 10 หน่วย/EM โบกาฉิ1/2 ส่วนตามภาชนะตวง/รำละเอียด1/2 /EM+กากน้ำตาล+น้ำ อัตราส่วน 1:1:500 ผสมน้ำแยกไว้(น้ำ 1 บัว ประมาณ 10 ลิตร กากน้ำตาล อย่างละ 20 ซีซี หรือ 2 ช้อน คนให้ละลาย)

2.วิธีการทำ

นำน้ำผสม EM กากน้ำตาลมารด ฟางข้าว คลุกให้ทั่ว ให้มีความชื้นโดยทั่ว(ระวังน้ำไหลนองพื้น)/นำโบกาฉิผสมกับรำ แล้วนำมาโรยให้ทั่วฟาง คลุกให้เข้ากัน/หมักโดยการกรองปุ๋ยเป็นฝาชีคว่ำ หรือเป้นกองยาวๆ สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบปานหรือ แสลน หรือคลุมด้วยฟางแห้ก็ได้ หมักไว้ 18 ชั่วโมงกลับกอง และวหมักต่ออีก 6 ชั่วโมง จึงนำไปใช้ได้

3.ประโยชน์ที่ได้รับ
ใช้รองก้นหลุม หรือคลุมดินในการเพาะปลูก/ใส่ในแปลงนาโดยทั่วแล้วไถกลบ/ใส่ในไร่นาแล้วไถกลบ/ใส่คลุมดินในไร่ ในสวน

แหล่งข้อมูล ดูที่นี่

Tuesday, December 8, 2009

อิฐฟางข้าว

อย่างที่รู้กันเป็นอย่างดีว่าวัสดุการก่อสร้างร่วมทั้งอิฐและกระเบื้องมีราคาสูงขี้น จึงได้มีความคิดที่จะใช้เศษวัสดุเหลือใช้คือฟางข้าวที่สามารถหาได้ทั่วไปมาใช้ทำอิฐ โครงการนี้เป็นของโรงเรียนท่าอิฐศึกษา จังหวัดนนทบุรี

วิธีการทำอิฐฟางข้าว
1. นำฟางข้าวมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำฟางข้าวไปหมักกับปูนขาว 5-7วัน
3. ผสมเส้นฟาง 3 ส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน เติมน้ำพอสมควร อย่าให้เหลวจนเกินไป
4. เตรียมกรอบไม้แม่แบบสำหรับทำอิฐอัดแผ่น (ตามขนาดอิฐที่ต้องการ)
5. เทส่วนผสมลงในแม่แบบ เกลี่ยให้เรียบ เอาส่วนผสมซีเมนต์ที่เหลือเทลงให้เต็มกรอบ ใช้เกรียงหรือไม้กวาดให้เรียบ
6. ทิ้งไว้ 1 วัน แกะกรอบไม้ออก แล้วบ่มฟางซีเมนต์ต่อสัก 7 วัน (บ่มอิฐฟางในกระสอบฟาง คลุมและรดน้ำให้ชื้น)

ก็จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นอิฐฟางข้าว นำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างต่อไป

อนึ่ง ในการศึกษาเรื่อง”อิฐบล็อกมวลเบาจากวัสดุธรรมชาติ” โดยนักเรียน ม.ต้น ของโรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา”จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผลงานที่ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออก ได้พบว่าอิฐบล็อกจากฟางข้าว เป็นอิฐบล็อกมวลเบาจากวัสดุธรรมชาติที่รับแรงอัดได้ดีที่สุด

ดูวิธีทำอิฐฟางข้าวในวิดีโอคลิปได้ที่นี่

และดูรูปลักษณ์ของอิฐฟางข้าวที่นี่

คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับธุรกิจอัดฟางก้อน





1.คำถาม: ธุรกิจฟางอัดก้อนจะมีลูกค้าเป็นใคร
คำตอบ:ลูกค้าของธุรกิจฟางอัดก้อนส่วนใหญ่ คือ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น โค กระบือ แพะ แกะ ซึ่งออกมาในรูปรับจ้างอัดฟางเป็นก้อนในนาของเจ้าของเจ้าของฟาร์มนั้นๆ ในราคาค่าอัดก้อนละระหว่าง 12-15 บาท หรือในรูปของการขายฟางอัดก้อนที่เจ้าของธุรกิจอัดก้อนฟางอัดไว้ขายในราคาก้อนละ ระหว่าง 30-35 บาท
2.คำถาม:ฟางในนาข้าวเจ้าของเขาหวงไหม
คำตอบ:ไม่หวง เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาต้องการขจัดฟางออกจากนาอยู่แล้ว เขาเห็นรถอัดฟางไปขออัดเขาจะดีใจด้วยซ้ำ เพราะเขาไม่ต้องออกแรงกำจัดฟางด้วยการเผาเหมือนแต่เดิม
3.คำถาม:ฟางอัดก้อนที่ก้อนไม่แน่นดีเพราะเหตุใด
คำตอบ :ปกติฟางอัดก้อนด้วยเครื่องจักรจะแน่นดีมาก แต่ในกรณีที่ไม่แน่นอาจเป็นเพราะฟางอัดก้อนมีขนาดยาวเกินไปก็ได้
4.คำถาม :เชือกอัดฟางที่นิยมใช้กับเครื่องอัดฟางควรใช้ยี่ห้ออะไร
ที่นิยมใช้กันในหมู่ผู้อัดฟาง คือ เชือกฟางยี่ห้อสามห่วง เบอร์ 8 และ เบอร์ 10
5.คำถาม:จะหาฟางมาเป็นวัตถุดิบในการอัดฟางได้ที่ไหน
คำตอบ:ฟางหาได้จากนาหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ไม่ว่าจะเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรหรือเกี่ยวด้วยแรงคนก็ตาม นาข้าวหาได้เกือบทุกฤดูกาล เนื่องจากปัจจุบันคนไทยนิยมทำนาหลายครั้ง และทำนาทั่วทุกภาค
6.คำถาม : ฟางก้อนจะขายดีตอนไหน
คำตอบ : ฟางอัดก้อนขายดีทุกหน้า แต่จะขายดีและได้ราคาดีมากในช่วงหน้าน้ำท่วม หรือในช่วงทำนา เพราะช่วงนั้นเจ้าของสัตว์หาหญ้าสดให้สัตว์กินไม่ได้ หรือเจ้าของผู้เลี้ยงสัตว์ไม่มีเวลาไปหาหญ้ามาให้สัตว์กิน เพราะฉะนั้นผู้ทำธุรกิจฟางอัดก้อนควรมีโรงเก็บฟางอัดก้อนที่สามารถกันฝนและกันน้ำท่วมไว้เก็บฟางอัดก้อนไว้ขายในช่วงเวลาขายดีมีราคาดังกล่าว
7.คำถาม :ฟางที่จะใช้อัดใช้จากฟางที่ทำเป็นกองฟางไว้ได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ โดยเครื่องอัดฟางก็จะตั้งอยู่กับที่ และใช้เครื่องรถไถปั่นเครื่องอัดฟางให้ทำงาน โดยมีคนทำหน้าที่ใส่ฟางเข้าเครื่องอัด

Google

Elephantstay,Thailand,

Elephantstay,Thailand,
Live,work and play with elephants